Logo nipponnotsubo
ad head
header
หน้าแรก ความบันเทิง วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สังคม เทคโนโลยี แฟชั่น ธุรกิจ

"เกนจิโมโนกาตาริ" เป็นรากฐานของ "โมเอะ"!?

genji

"โมเอะ" นั้นเป็นคำพูดที่บรรดาแฟนการ์ตูนภาพสองมิติใช้เรียกตัวการ์ตูนที่พวกเขาชื่นชอบ มันเป็นคำที่แสดงออกถึงความชื่นชอบและความรักที่มีต่อตัวการ์ตูนนั้น มีใช้กันมาตั้งแต่ปี 1990 แต่ปัจจุบันก็มีใช้เรียกกับพวกไอดอลและการ์ตูนสามมิติเช่นกัน คำว่า "โมเอะ" นั้นจะให้ความรู้สึกที่ต่างไปจากคำว่า "ชอบ" หรือ "น่ารักจัง" เพียงเล็กน้อย แล้วทำไมคนเราจะต้องใช้คำว่าโมเอะด้วยล่ะ? นักจิตวิทยาทางด้านความรักได้วิเคราะห์มาอธิบายให้เราได้ทราบกันแล้วครับ

"โมเอะ" แสดงออกถึงความต้องการปกป้อง ดูแล

genji"มันเป็นคำพูดที่แสดงออกถึงความเอ็นดูครับ จริงๆแล้วแต่เดิม เราจะใช้คำว่า "โมเอะรุ" 『萌える』แสดงความหมายที่ว่าพืชปล่อยสปอร์ออกมา แต่ตอนนี้จะแสดงความหมายว่า ยังอ่อน ยังไม่โต ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ดังนั้นการที่ได้เห็นคนค่อยๆเติบโต ขึ้นจึงเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจครับ "โมเอะ"เลยเป็นคำที่ใช้กับเด็กผู้หญิงที่มัดผมแกละหรือผมตรงยาวเพราะแสดงถึงความเป็นเด็กอยู่ ผู้ชายที่เห็นเด็กผู้หญิงอย่างนั้นก็มีความรู้สึกว่าอยากจะปกป้องนั่นเอง ความรู้สึกดังกล่าวจึงถูกโยงเข้ากับเรื่อง"เกนจิโมโนกาตาริ"ด้วย มันเริ่มขึ้นในตอนที่พระเอกของเรื่องที่ชื่อว่าฮิคารุ เกนจิ มีอายุได้ 18 ปี เกิดไปตกหลุมรักเด็กหญิงมุราซากิที่มีอายุอ่อนกว่าถึงสิบปีตั้งแต่ครั้งแรกที่พบ แล้วฮิคารุเกนจิก็มีความรู้สึกว่า "อยากดูแลไปจนโต" เมื่อเราคิดดูให้ดีๆแล้ว "โมเอะ" ก็อาจจะมีรากฐานมาจากเรื่องเกนจิโมโนกาตาริก็เป็นได้" (นักจิตวิทยาไนโต้)

จุดเริ่มต้นของโมเอะมาจากเรื่องเกนจิโมโนกาตาริเหรอเนี่ย! มีความรักตั้งแต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วยังเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเฮอันทำให้ผมรู้สึกแปลกใจไม่น้อยเลยครับ จากนั้นมันก็ได้มาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอะนิเมและการ์ตูน และมาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุค 90

มนุษย์เราก็มองว่าเด็ก "มีความน่ารัก"

แล้วทำไมคนเราจะต้องสนใจในสิ่งที่ยังบริสุทธิ์กันนะ กับคำถามนี้ เราก็ได้รับคำตอบจากคุณไนโต้อีกครั้ง

genji"นักมนุษยวิทยา Konrad Lorenz ผู้ซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลทำการวิจัยเกี่ยวกับห้วข้อ "ทำไมทารกของสัตว์ต่างๆถึงมีความน่ารัก" ผลสรุปที่ได้ออกมาก็คือ "ถ้าลูกไม่น่ารัก พ่อแม่ก็จะไม่สนใจ" เราเรียกสิ่งนี้ว่า "เบบี้เนส"

เพื่อเป็นพิสูจน์"เบบี้เนส"ว่าเป็นจริงกับมนุษย์ วิลเลียม ฟลาด จากมหาวิทยาลัยเทมเปิล จึงทำการทดลองกับเด็กชั้นประถม2 จนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยการให้ดูภาพสไลด์ของเด็กกับผู้ใหญ่ แล้วถามว่าชอบเด็กหรือผู้ใหญ่มากกว่ากัน ผลที่ออกมาก็คือ ยิ่งกลุ่มผู้ทดลองอายุสูงขึ้นก็ยิ่งเลือกเด็ก สรุปคือเลือกเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ หรือกล่าวคือ มนุษย์มีความเป็นเบบี้เนสนั่นเองครับ" เด็กที่น่ารักโดยบริสุทธิ์โดยไม่แต่งเติมสิ่งใดนั้นเป็นรากเหง้าของ"โมเอะ"นั่นเอง

ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เอาใจเด็ก

ดูเหมือนว่าในปัจจุบันนี้แฟนๆอะนิเมในต่างแดนก็จะใช้คำว่า "โมเอะ" กันด้วย ขนาดในจีนก็ยังใช้ โมเอะ「萌」เลย คุณไนโต้ครับ คำว่าโมเอะเนี่ย จะใช้กันไปทั่วโลกเลยหรือเปล่านะ?

"ผมคิดว่าในต่างแดนก็ต้องมีบ้างล่ะที่ชื่นชอบสิ่งของที่น่ารักๆ อาจจะเป็นความรู้สึกที่แรงกว่าของญี่ปุ่นด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะว่าความคิดที่มีแต่เด็กของญี่ปุ่นกับชาติอื่นๆนั้นมีความต่างกันนั่นเองครับ โดยเฉพาะในยุโรป จะสอนให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองมาตั้งแต่ยังเด็ก แต่ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นแล้ว เด็กเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสังคมที่เลี้ยงเด็กให้เป็นเหมือนไข่ในหิน ไม่ต้องรีบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ได้ อยากเลี้ยงดูให้เป็นอย่างเด็กตลอด ญี่ปุ่นเป็นสังคมแบบนั้น จึงเรียกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ยอมรับการเป็นโมเอะมากที่สุกก็ว่าได้" (นักจิตวิทยาไนโต้)

สาเหตุที่วัฒนธรรมโมเอะเจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่นก็เพราะว่ามีความเกี่ยวข้องกับภูมิหลังทางวัฒนธรรมนั่นเอง ต่อให้เป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม แต่ผู้หญิงบางคนก็ยังคงผูกโบว์ ใช้ของสีชมพู หรือชุดที่เป็นพู่น่ารักๆ อยู่ นั่นอาจจะเป็นเพราะไม่อยากสูญเสียความเป็นเด็กไปก็เป็นได้นะครับ

ตำนานเกนจิเป็นนวนิยายที่โด่งดังจนแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ก็ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์, อนิเมและการ์ตูน

ตำนานเกนจิ

คนญี่ปุ่นบอกว่า"โมเอะ"=ชอบจนแทบจะไหม้ (คนไทยพูดว่า ชอบจนแทบจะละลาย)

หม้อความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น nipponnotsubo にっぽんの壷

右上大型広告
Custom Search
Copyright © 2011 Nipponnotsubo.Inc.
All Right Reserved.
nipponnotsubo@gmail.com
nipponnotsubo@hotmail.com