แมคโดนัลด์ที่ญี่ปุ่นได้เริ่มตั้งราคาแบ่งตามเขตเมื่อปี2007 โดยจัดให้มีการขึ้นราคาในเมืองใหญ่ที่เรียกว่าโอซาก้า, จังหวัดคานากาวะและโตเกียว และลดราคาลงในท้องถิ่นเช่นทางตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ การเปลี่ยนแปลงการแบ่งแยกราคานี้ เป็นการพิมพ์ออกเผยแพร่ของคูปองมือถือ คูปองมือถือ คือ การส่งบัตรคูปองลดราคาสินค้าให้ทางโทรศัพท์มือถือของลูกค้า ซึ่งธรุกิจส่วนใหญ่ อย่างเช่น ฟาสต์ฟู้ด เชนในประเทศญี่ปุ่น กำลังนำมาประยุกต์ใช้
ในกรณีของแมคโดนัลด์นั้น เมื่อลูกค้าลงทะเบียนสมาชิกฟรีแล้ว ข่าวสารสินค้าใหม่และคูปองมือถือซึ่งจำกัดเฉพาะลูกค้าก็จะส่งเข้าทางเมลโทรศัพท์มือถือ และเพียงแค่ยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาอังกับคอมพิวเตอร์เทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะซึ่งอยู่ภายในร้านแมคโดนัลด์ก็จะสามารถได้รับบริการ อย่างเช่น ส่วนลด
จำนวนสมาชิกมี1970คนตลอดระยะเวลา10ปี ซึ่งนี่เพิ่มเป็น20เท่าในระยะเวลา4ปี เมื่อผกผันกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาชิกที่ว่านี้แล้วนั้น ยอดขายของทุกๆร้านก็กำลังเติบโตขึ้น
หากเป็นสมาชิกก็จะสามารถซื้อสินค้าเซตเดียวกันได้ในราคาถูก แต่คนที่ไม่ใช่สมาชิกก็จะต้องซื้อสินค้าในราคาปกติ ซึ่งในตอนนี้ก็ได้ทำการแบ่งแยกราคาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพูดได้ว่า "โครงสร้าง"ของการแบ่งแยกราคาซึ่งเป็นเป้าหมายส่วนบุคคลด้วยการนำคูปองมือถือมาใช้นั้นเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว แมคโดนัลด์กำลังเตรียมดำเนินการต่อไปอย่างมั่นคง และเล็ง"กาแบ่งแยกราคาอันสมบูรณ์แบบ"
นอกจากนี้ อัตราการทำงานของร้านค้าในธุรกิจบริการอย่างแมคโดนัลด์ก็เป็นหัวข้อที่สำคัญอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น แม้เดิมทีช่วงเวลาที่มีลูกค้าใช้บริการจะมาก แต่หากฝนตก และมีการจัดลดราคาพิเศษที่ร้านค้าอื่นลูกค้าที่จะมาร้านก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน ในช่วงที่เบียดเสียดแออัดลูกค้าก็เลือกที่จะกลับไปโดยไม่ได้ซื้ออะไรเพราะต้องรอต่อคิวนาน และที่นั่งเต็ม คูปองมือถือจึงกลายเป็นเครื่องมือที่จะช่วยควบคุมโอกาสการขาดทุนให้มีน้อยที่สุด
เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าในช่วงเวลาที่ร้านเงียบเหงา จึงมีการส่งคูปองลดราคาเมนูที่คนๆนั้นชื่นชอบซึ่งจำกัดเวลาแก่คนที่อยู่ในเขตละแวกใกล้ร้าน เนื่องจากข้อมูลการใช้ของสมาชิกจะถูกเก็บสะสมเอาไว้ จึงสามารถรู้ถึงความชอบของสมาชิกแต่ละคนได้ ดังนั้น ก็สามารถส่งคูปองเพื่อจะทำให้ลูกค้าอยากมาที่ร้านได้
และหากคนที่ได้รับข้อมูลนี้มาซื้อของที่ร้านในช่วงที่ซบเซา แทนที่จะมาในช่วงที่เบียดเสียดแออัด สำหรับแมคโดนัลด์ก็จะสามารถควบคุมโอกาสในการขาดทุนได้ ซึ่งเมื่อทำเช่นนี้ก็จะสามารถเปลี่ยนระดับอัตราการทำงานของทางร้านได้ และถ้าลดราคาในช่วงเวลาที่ร้านเงียบเหงาก็จะรับประกันกำไรได้อย่างเหลือเฟือ ซึ่งหากสามารถสนับสนุนสินค้าในช่วงที่เงียบเหงาได้ ก็จะสามารถใช้ค่าอุปกรณ์และค่าแรงซึ่งเปล่าประโยชน์ไปจากการที่ไม่มีลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เรื่องที่จะกลายเป็นเรื่องสำคัญในภายหลังก็คือแค่ราคาวัตถุดิบเท่านั้น (นักเศรษฐศาสตร์ โยชิโมโตะ คะเซ)