หลังการเกิดเหตุแผ่นดินไหวทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมีความต้องการซื้อตั้งแต่ถังแก๊สแบบพกพาจนกระทั่งครูสอนพิเศษตามบ้าน ทำให้เกิดข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเรียกได้ว่ามีอำนาจในการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งแตกต่างจากความต้องการในการที่จะฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างต่างๆที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว
สำหรับร้านค้าปลีกไม่มีอะไรน่ากลัวไปมากกว่าความกังวลใจของผู้บริโภค เมื่อยังไม่มีความมั่นคงในเรื่องต่างๆก็น่าจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลใจและเลือกที่จะออมเงินมากกว่า แต่กลับกลายเป็นว่าแนวโน้มในการใช้จ่ายของผู้บริโภคหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้นเป็นไปในทิศทางทางตรงกันข้าม
เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่อยู่ในครัว ไม่สามารถใช้การได้ ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อเตาปิคนิคในการทำอาหารแทน ทำให้มียอดขายได้มากกว่าสามเท่าของยอดขายปกติ
เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กของบริษัทฮอนด้า สามารถทำให้เกิดไฟฟ้าได้เมื่อใช้แก๊สปิคนิคสองกระป๋อง คิดเป็นเงิน 104,790 เยน (ประมาณ 33,000 บาท) ซึ่งค่อนข้างแพงแต่ได้รับออเดอร์สั่งซื้อถึงพันรายการ มากกว่าช่วงก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวถึงสิบเท่า แสดงให้เราเห็นว่า ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
การใช้ไฟฟ้าในฤดูร้อนมีแนวโน้มที่จะประหยัดโดยการหันมาใช้หลอดประหยัดไฟ(หลอดไดโอดเปล่งแสง) ซึ่งบริษัทโตชิบามียอดขายหลอดประหยัดไฟเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหว
ความต้องการอื่นที่เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นก็คือการหาคู่แต่งงาน ตามที่สำนักงานจัดหาคู่กล่าวหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว คนโสดมีความต้องการที่จะมีคู่ครองเพิ่มมากขึ้น บริการจัดหาคู่ Onetto กล่าวว่าหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเพียงแค่ 3เดือน มียอดการแต่งงานเพิ่มมากขึ้นถึง 20% โดยเฉพาะในเขตจังหวัดโตเกียว,ไซตามะ,คานากาว่า,จิบะและจังหวัดอื่นๆที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น
ข้อดีในแง่ของการตลาดหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวคือยอดขายแหวนแต่งงานเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกๆปีถึง 25%
ส่วนร้านค้าปลีกในพื้นที่ประสบภัยนั้นมียอดขายที่พุ่งสูงขึ้นเพราะผู้บริโภคต่างใช้ชีวิตบนความไม่แน่นอน