อุบัติเหตุโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิม่า สถานทูตของแต่ละประเทศที่โตเกียวได้ตัดสินใจที่จะให้หยุดชั่วคราว หรือไม่ก็ให้ออกไปจากโตเกียว ในขณะเดียวกัน ด้วยการตัดสินใจที่เด็ดขาด ก็ได้มีสถานทูตที่เหลืออยู่ในโตเกียว ก็คือ เนเธอร์แลนด์.
เอกอัครราชทูตฟิลิปดัตช์ เฮียร์ ของเนเธอร์แลนด์ ได้คิดว่า "เป็นแผ่นดินไหวที่ต่างจากทุกครั้งน่ะ". ในวันที่ 11 มีนาคม เขาได้เข้าร่วมงานที่จัดขึ้นในพิพิธภัณฑ์ของโตเกียว
ทันที่ที่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว, เขาที่อยู่ที่สวนสาธารณะชิบะอุระก็ได้รีบไปที่สถานทูต ในวันนั้น ได้จัดตั้งหน่วยจัดการภาวะวิกฤตตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะเป็นวิธีการจัดการในกรณีฉุกเฉินขององค์กรสถานทูต และการแบ่งออกเป็น 2 ทีมทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน. สถานทูตแห่งนี้ได้มีทีมงานที่มีความรู้ว่าควรจัดการอย่างไรในเวลาที่มีเหตุแผ่นดินไหวเพราะเขาเคยมีประสบการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่บริเวณเมื่องโกเบ แต่ละทีมไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมข้อมูล หรือการตรวจสอบยืนยันความปลอดภัยของคนเนเธอรแลนด์ในพื้นที่ที่มีภัยพิบัติได้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ภายใต้การนำของเอกอัครราชทูตเฮียร์.
ความรุนแรงของอุบัติเหตุพลังงานนิวเคลียร์ ,การเกิดอาฟเตอร์ชอคอย่างต่อเนื่อง และการขาดแคลนไม่ว่าจะเป็นนมหรือแก๊ซ. เนื่องจากความเครียดกังวลของชาวดัตช์ที่อาศัยอยู่ในโตเกียว ก็มีเสียงเรียกร้อมเพิ่มขึ้นว่า "อยากจะออกจากเขตคันโต" , "อยากออกจากญี่ปุ่น". และทั้งเอกอัครราชทูตเฮียร์ที่ได้รับโทรศัพท์จากญาติในประเทศบ้านเกิดว่า" ทำไมยังไม่กลับประเทศละ" และถูกกดดันให้กลับประเทศ แต่ว่าพวกเขาก็ยังทำงานในโตเกียวต่อไป.
ด้วยเหตุผลนั้น เอกอัครราชทูตเฮียร์ก็ได้อธิบายไว้ว่า
เหตุผลแรกคือ ปริมาณรังสีจากอุบัติเหตุโรงงานนิวเคลียร์ ได้ดูจากทางการแพทย์แล้ว รัฐบาลเนเธอร์แลนด์วินิจฉัยว่าไม่ส่งผลกระทบถึงคนที่อาศัยอยู่ที่โตเกียว เหตุผลที่สองคือ ชาวดัตช์ประมาณ 700 คนที่เหลืออยู่ในเขตคันโต สถานทูตไม่สามารถอพพยพพวกเขาเหล่านั้นได้ แล้วก็เหตุผลที่สามคือ ความสัมพันธ์ที่ยาวนานกว่า400ปีของญี่ปุ่นกับเนเธอร์แลนด์ ด้วยความรู้สึกรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่และการผ่านสถานการณ์แย่ๆมาด้วยกัน มันเป็นการพิสูจน์ได้ว่าถึงคำ"เพื่อน" (หนังสือพิมพ์โยมิอุริ)