นอกจากการประเมินพนักงานเข้าใหม่ในช่วงนี้ซึ่งเรียกว่า"ความตั้งใจที่มั่นคง" "พวกกินพืช"แล้ว ในโลกธุรกิจยังได้ยินคำว่า"เด็กใหม่ยังไม่โต"บ่อยๆอีกด้วย
การวิพากษ์วิจารณ์อย่างโงเขลานี้จะถูกหรือไม่นั้นก็ไม่รู้ได้ แต่ว่า จากการสำรวจแต่ละชนิดที่ว่า จิตสำนึกในด้านของความกระตือรือร้นที่เรียกว่า"การบรรลุศักยภาพในการทำงานอย่างขยันขันแข็ง"ในผู้คนวัยหนุ่มสาวกำลังจางหายไปนั้นคงจะเป็นความจริง
มีคนกล่าวถึงผู้คนในวัยหนุ่มสาวด้วยอารมณ์ว่า"วัยรุ่นสมัยนี้พึ่งพาไม่ได้" หรือไม่ก็มีเรื่องของการโยนรับผิดชอบให้คนอื่นเช่นว่า"การศึกษาของมหาวิทยาลัยย่ำแย่" หรือ "ครอบครัวไม่สั่งสอน"
แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซังเกียวโนริทสึได้วิเคราะห์ว่า "เพราะไม่มีกำลังในการฝึกอบรบในการทำธุรกิจ" เป็นสาเหตุที่ความกระตือรือร้นของวัยรุ่นกำลังจางหายไป
บริษัทญี่ปุ่นในปัจจุบันกำลังให้ความสำคัญกับการลดน้อยลงของคนที่มีความรู้ความสามารถ และไม่มีกำลังเหลือพอที่จะฝึกฝนอบรมคน หรือไม่ก็ ผู้จัดการเพื่อการพิจารณาเงินเดือนตามผลงานจะมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาสูง ทว่าจะไม่สามารถควบคุมดูแลผู้ที่มีความรู้ความสามารถได้ และยังมีบริษัทที่ไม่มี"การพัฒนาบุคลากร"ในภารกิจของผู้จัดการอีกด้วย
บริษัทญี่ปุ่นได้เดินหน้าปรับโครงสร้างระบบให้เป็นไปในแนวราบ และลดความสัมพันธ์บนล่างของพนักงานลง จากผลลัพธ์นั้น ทำให้หน้าที่Sub managerซึ่งเหมือนกับหัวหน้างานที่คอยฝึกอบรมแบบOJTให้แก่พนักงานวัยรุ่นนั้นหายไป
บริษัทญี่ปุ่นที่เคยไม่เห็นความสำคัญของ"การพัฒนาบุคลากร"นั้น ในปัจจุบันกำลังจัดให้มีการก่อสร้างโครงสร้างระบบขึ้นมาใหม่อีกครั้ง อย่างรถยนต์โตโยต้าซึ่งเป็นหนึ่งในนั้น ก็เห็นว่าจะทำให้หน้าที่ของหัวหน้างานคืนชีพขึ้นมาใหม่
อีกด้านหนึ่ง ดูเหมือนว่ากิจกรรมในมหาวิทยาลัยนั้นกำลังค่อยๆหลงลืมแก่นแท้ของตัวมหาวิทยาลัยเองไปเรื่อยๆ
ที่ญี่ปุ่นนั้นวัยรุ่นหางานทำได้ยาก เพราะเหตุนี้ มหาวิทยาลัยรัฐที่มีชื่อเสียงของโตเกียวได้ออกแนวโน้มที่จะสอนเรื่องที่เป็นประโยชน์อันแท้จริงในเรื่องการทำงานและการรับมือกับการหางานทำ บางมหาวิทยาลัยก็มี "การพัฒนาบุคลากรให้เข้ากับความต้องการของบริษัท" เป็นหัวข้อ1หัวข้อ
เหล่าศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยกำลังพยายามฝึกฝนอบรมผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะมองหาบริษัท เพื่อให้ได้เปรียบในการหางานทำ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซังเกียวโนริทสึได้แบ่งความสามารถของบุคคลออกเป็น2อย่าง คือ "ความสามารถแบบพื้นฐาน" กับ "ความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมเข้ากับสถานการณ์"
"ความสามารถขั้นพื้นฐาน" คือ การมีความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นและความประพฤติเป็นศูนย์กลางอยู่บนการทำงาน และการใช้ชีวิต โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นกำลังที่ควรไขว่คว้าหามาได้ภายในชีวิตสมัยมหาวิทยาลัย
"ความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมเข้ากับสถานการณ์" คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สิ่งนี้ก็คือประสบการณ์ กับสิ่งที่เรียนรู้ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเท่านั้น อาจจะเป็นความสามารถที่สามารถได้รับมาจากOJTเสียเป็นส่วนใหญ่
สิ่งที่สามารถมองหาได้จากมหาวิทยาลัยการศึกษาของญี่ปุ่นคงจะเป็นความรู้ที่จะกลายเป็นรากฐานในการพัฒนาชีวิตในอนาคต นั่นคือ"การเรียนรู้"ที่จะกลายเป็นพื้นฐานของความสนใจที่กว้างไกล และเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานระดับสูง ซึ่งนั่นอาจจะเป็น"ความสามารถขั้นพื้นฐาน"
มหาวิทยาลัยในยุคสมัยนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ด้านวิชาการเท่านั้น แต่ต้องการที่จะประเมินความพยายามในการปรับปรุงมหาวิทยาลัยด้วย แต่ว่า การปรับปรุงซึ่งมีผลกระทบต่อข้อเรียกร้องของโลกธุรกิจมากเกินไป จะเป็นเหตุให้แก่นแท้ข้องมหาวิทยาลัยการศึกษาหายลับไปหรือไม่ แล้วถ้าสิ่งนั้นเป็นธุรกิจที่จะดำเนินการให้มีลักษณะเฉพาะจะเป็นการดีหรือไม่