Logo nipponnotsubo
ad head
header
หน้าแรก ความบันเทิง วัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ สังคม เทคโนโลยี แฟชั่น ธุรกิจ

ทำไมคนญี่ปุ่นถึงขยัน? หนึ่งในตอบ เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่แตกต่าง


คนญี่ปุ่น

คนญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าเป็นคนที่ขยัน เป็นที่แน่นอนว่า คนไทยก็เป็นคนที่มีความอุตสาหะ และไม่มีทางแพ้คนญี่ปุ่นแน่นอน

เราลองมาคิดกันดูว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงขยัน ได้มีการพิสูจน์หาคำตอบแต่ก็ไม่มีข้อเท็จจริงที่แน่นอน เป็นเพียงแค่ อาจจะเป็นเพียงแค่ หรือ โดยทั่วไปคิดว่าเป็นอย่างนั้น หนึ่งในนั้น เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่แตกต่าง

natsu

หากมองจากทางด้านภูมิศาสตร์ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีฤดูอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนมากที่สุดในโลก "ฤดูร้อน"ที่อาจจะร้อนกว่าประเทศไทย "ฤดูใบไม้ร่วง"ที่อุณหภูมิลดลง ใบไม้เปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีแดง "ฤดูหนาว"ที่มีหิมะตก และ "ฤดูใบไม้ผลิ"ก่อเกิดสิ่งใหม่ๆต่างๆ

เนื่องจากฤดูที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เสื้อผ้าในแต่ละฤดูต้องเปลี่ยนเป็นเวลา 4ครั้งทุกๆ1ปี เสื้อผ้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ นอกเหนือจากเสื้อผ้า ทุกๆฤดูก็มีเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป ยิ่งไปกว่านั้นต้องใช้เวลาอย่างมากทุกๆปีในการจัดเตรียมเพื่อเตรียมรับ ในเรื่องของการสร้างบ้านเช่นกัน เพื่อให้ฤดูร้อนไม่ร้อนจนเกินไป ฤดูหนาวก็ไม่หนาวจนเกินไป การดัดแปลงในการก่อสร้างจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

aki fuyu

การทำเกษตรกรรม ตั้งแต่การดำนาจนถึงฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นฤดูการเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีการเก็บเกี่ยวที่ดี จึงต้องพยายามเพื่อให้ได้การเก็บเกี่ยวที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

และตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการเก็บเกี่ยว เพื่อให้การเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปเพิ่มมากขึ้น ต้องมีการบุกเบิกพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งคนญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตนั้น ต้องทำงานอย่างหนักหน่วงตลอดทั้งปี

haru

แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งคนญี่ปุ่นก็ไม่ลืมที่จะตั้งตาคอยดูการเปล่ยนสีของแต่ละฤดู ความสวยงามทั้งสี่ฤดูแสดงถึงวรรณกรรม ศิลปะในเชิงอุตสาหกรรม และเครื่องนุ่มห่ม แบบแผนเหล่านั้น แสดงได้จาก ไฮกุและทังคะ ภาพวาดและกิโมโน และรสชาติของอาหารของทั้งสี่ฤดูนั้น แต่ละฤดูทำให้มีการคิดทำอาหารที่เหมาะสมตามแต่ฤดูกาล ซึ่งเชื่อมโยมกับอาหารญี่ปุ่นในปัจจุบัน by たいすけ

日本語版

วัฒนธรรมญี่ปุ่น

หม้อความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น nipponnotsubo にっぽんの壷

右上大型広告
Custom Search
Copyright © 2011 Nipponnotsubo.Inc.
All Right Reserved.
nipponnotsubo@gmail.com
nipponnotsubo@hotmail.com